เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้

เราใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ กรุณาคลิก ยอมรับ

เพื่อดำเนินการ หรือ อ่านรายละเอียดสำหรับนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และการใช้งานคุกกี้

ฮีทสโตรกหรือโรคลมแดด อันตรายถึงชีวิตจากหน้าร้อน

โพสเมื่อ : 2024-02-27 | โดย : medipro

ฮีทสโตรกหรือโรคลมแดด อันตรายถึงชีวิตจากหน้าร้อน

ในแต่ละปีประเทศไทยมีสภาพอากาศร้อนจัดขึ้นทุกปีด้วยสภาวะโลกร้อนที่ส่งผลให้อุณหภูมิโลกมีแนวโน้มสูงขึ้นทำให้ผู้คนเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยโรคที่มากับฤดูร้อนได้ง่ายอย่างเช่นอาหารเป็นพิษ โดยเฉพาะโรคที่คนเป็นบ่อยในช่วงนี้คือ “ฮีทสโตรก” หรือ “โรคลมแดด” นั่นเอง ซึ่งเป็นโรคที่อันตรายถึงแก่ชีวิตได้เลยทีเดียว

โรคฮีทสโตรกเกิดจากอะไร

โรคฮีทสโตรก (Heat Stroke) หรือโรคลมแดด แบ่งสาเหตุของการเกิดโรคได้ 2 ประเภท ดังนี้
  1. Classical Heat Stroke เกิดจากสิ่งแวดล้อมมีอุณหภูมิสูงเกินไป พบบ่อยในผู้สูงอายุและผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่มีความผิดปกติเกี่ยวกับระบบประสาทส่วนกลาง อาการที่สังเกตได้คืออุณหภูมิในร่างกายสูงแต่ไม่มีเหงื่อ
  2. Exertional Heat Stroke เกิดจากการออกกำลังกายหักโหมเกินไป รวมถึงกลุ่มผู้ใช้แรงงานหรือออกแรงมาก ๆ และนักกรีฑา โดยจะมีอาการคล้ายกับแบบแรก แต่มีเหงื่อออกและพบการสลายของเซลล์กล้ามเนื้อลาย มีอาการแทรกซ้อนอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น ระดับแร่ธาตุบางชนิดในเลือดสูง พบไมโอโกลบินในปัสสาวะ เป็นต้น

อาการของโรคฮีทสโตรก

ร่างกายที่ได้รับความร้อนมากเกินไปจนเกิดการสะสมความร้อนในร่างกาย นั่นคืออาการของโรคฮีทสโตรก โดยจะมีอาการเบื้องต้นที่สังเกตได้คือ ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย สับสน วิตกกังวล คลื่นไส้ อาเจียน หน้ามืด ความดันต่ำ เบื่ออาหาร ถ้าอาการรุนแรงมากขึ้นจะมีอาการภาวะขาดเหงื่อ หมายถึงอุณหภูมิในร่างกายสูงแต่เหงื่อไม่ออก หายใจเร็ว ไม่รู้สึกตัว เซลล์ตับตาย ไตล้มเหลว หัวใจเต้นผิดจังหวะ ปอดบวมจากการคั่งของของเหลว กล้ามเนื้อลายสลาย ช็อก เกิดการสะสมของ Fibrin จนไปอุดตันที่หลอดเลือดขนาดเล็ก ส่งผลให้อวัยวะต่าง ๆ ทำงานล้มเหลว

ถ้าปล่อยทิ้งไว้หรือไม่สามารถระบายความร้อนออกจากร่างกายได้ภายใน 2 ชั่วโมง จะยิ่งเพิ่มความเสี่ยงรุนแรงต่อหัวใจ สมอง กล้ามเ จนอาจทำให้เสียชีวิตได้

สัญญาณเตือนของโรคฮีทสโตรก

เมื่ออยู่ในบริเวณที่มีอุณหภูมิสูง ๆ แล้วตัวร้อนจัดขึ้นเรื่อย ๆ ไม่มีเหงื่อออก รู้สึกปวดศีรษะ วิงเวียน มึนงง กระหายน้ำ หายใจเร็ว คลื่นไส้ อาเจียน หรือเรียกว่ามีอาการแตกต่างจากการเพลียแดดทั่วไปที่มักจะมีเหงื่อออกร่วมด้วย ให้สันนิษฐานว่าอาจเป็นโรคฮีทสโตรกก็ได้

วิธีปฐมพยาบาลเมื่อพบผู้ป่วยโรคฮีทสโตรก

การปฐมพยาบาลผู้ป่วยฮีทสโตรกหรือโรคลมแดดนั้น เราสามารถช่วยเหลือเบื้องต้นได้โดยปฏิบัติตามคำแนะนำดังต่อไปนี้

  1. นำผู้ป่วยเข้าที่ร่มและมีอากาศถ่ายเทสะดวก จัดให้นอนท่าราบแล้วยกเท้าสูงทั้งสองข้าง เพื่อให้เลือดไหลเวียนไปเลี้ยงสมองมากขึ้น จากนั้นถอดคลายเสื้อผ้าออกเพื่อระบายความร้อน
  2. นำผ้าชุบน้ำเย็นหรือห่อน้ำแข็งประคบตามซอกร่างกาย เช่น คอ รักแร้ ขาหนีบ เชิงกราน และศีรษะ เปิดพัดลมเป่าระบายความร้อนร่วมด้วย
  3. ถ้าผู้ป่วยยังไม่หมดสติ ให้ดื่มน้ำเปล่ามาก ๆ แล้วรีบนำส่งโรงพยาบาล

    วิธีป้องกันโรคฮีทสโตรกหรือโรคลมแดดที่ดีที่สุด นั่นคือการทำให้ร่างกายมีอุณหภูมิใกล้เคียงปกติมากที่สุด หลีกเลี่ยงการอยู่กลางแจ้งที่อากาศร้อนจัด และหมั่นจิบน้ำเปล่าบ่อย ๆ เพื่อชดเชยน้ำที่สูญเสียให้กับร่างกาย เพียงเท่านี้ก็สามารถผ่านหน้าร้อนไปได้สบาย ๆ ไม่ต้องกังวลกับโรคนี้เลย

256611-15-02 ฮีทสโตรก_0.png

บทความอื่นๆ
วิธีเลือกร้านขายอุปกรณ์การแพทย์ใกล้ฉัน สั่งซื้อสะดวกและน่าเชื่อถือ

การดูแลสุขภาพในยุคปัจจุบันคือสิ่งสำคัญที่ช่วยให้ผู้คนมีคุณภาพชีวิตดีขึ้นได้ แต่เมื่อวันหนึ่งที่เกิดการเจ็บป่วยก็จำเป็นต้องได้รับการรักษาจากแพทย์และดูแลสุขภาพอย่างใกล้ชิด

ข้อควรรู้เกี่ยวกับการให้น้ำเกลือ

การให้น้ำเกลือเป็นหนึ่งในวิธีการรักษาผู้ป่วยที่อยู่ในภาวะเกลือแร่ในร่างกายต่ำ ขาดน้ำ อาเจียน เสียเลือดมาก ท้องเสียอย่างรุนแรง เพื่อชดเชยน้ำและเกลือแร่ที่ร่างกายสูญเสียไป โดยให้สารละลายน้ำเกลือแก่ร่างกายผ่านทางเส้นเลือดภายใต้การดูแลจากแพทย์อย่างใกล้ชิด

ผ้าพันแผลมีกี่แบบ วิธีพันผ้าพันแผลแบบต่าง ๆ

อุบัติเหตุเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นโดยไม่คาดคิดและเกิดขึ้นได้กับทุกคน เพราะฉะนั้นเราจึงควรเรียนรู้การปฐมพยาบาลเบื้องต้นและควรมีอุปกรณ์ปฐมพยาบาลเบื้องต้นติดกล่องยาไว้เสมอ โดยเฉพาะผ้าพันแผลที่มักจะใช้กันบ่อย ๆ วันนี้เราจะมาทำความรู้จักและลักษณะของการพันผ้าพันแผลแบบต่าง ๆ กัน